เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

25
อันตะ 3

1. สักกายอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายะ)
2. สักกายสมุทยอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายสมุทัย)
3. สักกายนิโรธอันตะ (ส่วนสุดคือสักกายนิโรธ)

26
เวทนา1 3

1. สุขเวทนา (ความรู้สึกสุข)
2. ทุกขเวทนา (ความรู้สึกทุกข์)
3. อทุกขมสุขเวทนา (ความรู้สึกไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข)

27
ทุกขตา2 3

1. ทุกขทุกขตา (สภาวทุกข์คือทุกข์)
2. สังขารทุกขตา (สภาวทุกข์คือสังขาร)
3. วิปริณามทุกขตา (สภาวทุกข์คือความแปรผันไป)

28
ราสี(กอง) 3

1. มิจฉัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะผิดและให้ผลแน่นอน)
2. สัมมัตตนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่มีสภาวะชอบและให้ผลแน่นอน)
3. อนิยตราสี (กองแห่งธรรมที่ให้ผลไม่แน่นอน)

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/249/270
2 ดูเทียบ สํ.สฬา. (แปล) 18/327/345

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :266 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [10. สังคีติสูตร] สังคีติหมวด 3

29
ตมะ(ความมืด) 3
1. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอดีตกาล
2. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภอนาคตกาล
3. เคลือบแคลง สงสัย ไม่น้อมใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ปรารภปัจจุบันกาล

30
อรักเขยยะ(ข้อที่พระตถาคตไม่ต้องรักษา) 3
1. พระตถาคตทรงมีกายสมาจาร (ความประพฤติทางกาย) บริสุทธิ์ ไม่ทรง
มีกายทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้
รู้กายทุจริตของเรานี้’
2. พระตถาคตทรงมีวจีสมาจาร (ความประพฤติทางวาจา) บริสุทธิ์ ไม่ทรง
มีวจีทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้รู้
วจีทุจริตของเรานี้’
3. พระตถาคตทรงมีมโนสมาจาร (ความประพฤติทางใจ) บริสุทธิ์ ไม่ทรงมี
มโนทุจริตที่พระองค์จะต้องรักษาไว้โดยตั้งพระทัยว่า ‘คนอื่น ๆ อย่าได้รู้
มโนทุจริตของเรานี้’

31
กิญจนะ1(เครื่องกังวล) 3

1. ราคกิญจนะ (เครื่องกังวลคือราคะ)
2. โทสกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโทสะ)
3. โมหกิญจนะ (เครื่องกังวลคือโมหะ)

เชิงอรรถ :
1 อภิ.วิ. (แปล) 35/924/577

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :267 }